ปฏิทิน กับประวัติศาสตร์ที่คนไทยไม่สนใจ

ปฏิทิน เป็นสิ่งที่มีอยู่คู่บ้านคนไทยมาอย่างช้านาน แต่ถ้าได้ลองถามใครสักคนดูว่าปฏิทินนั้นมีต้นกำเนิดมาจากไหน ที่คนก็คงจะตอบเหมือนๆ กันหมดว่า ไม่รู้ แน่นอน เพราะตัวประวัติหรือต้นกำเนิดของปฏิทินไม่มีใครที่จะสนใจใคร่รู้เลยสักนิดเดียว ดังนั้น บทความนี้เราจะพาเพื่อนๆ ย้อนเวลาไปตามหาประวัติหรือต้นกำเนิดของปฏิทินกัน โดยเราขออนุญาตอ้างอิงจากเว็บไซต์ riccoprint.com

ปฏิทิน กับประวัติศาสตร์ที่คนไทยไม่สนใจ


ในส่วนของประวัติปฏิทินไทย เราขออ้างอิงจากเว็บไซต์ riccoprint.com ซึ่งทาง riccoprint.com  ได้เล่าว่า “ย้อนกลับไปในสมัยสุโขทัย ประเทศไทยเริ่มมีการใช้ปฏิทินจันทรคติกันตั้งแต่นั้นมา โดยได้ยึดการนับปีตามปีมหาศักราชตามที่มีปรากฎในศิลาจารึก และได้เปลี่ยนมาใช้จุลศักราชในสมัยพญาลิไท ต่อมาในปีจุลศักราช 1240 (พ.ศ. 2431) ในสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้โปรดเกล้าฯ ให้เปลี่ยนจากปฏิทินจันทรคติมาใช้ปฏิทินสุริยคติแบบสากลตามปฏิทินเกรกอเรียน โดยได้กำหนดให้หนึ่งปีมี 12 เดือน และกำหนดให้เดือนแรกของปีคือเดือนเมษายน และให้เดือนสุดท้ายของปีเป็นเดือนมีนาคม และยังคงใช้รัตนโกสินทรศก (ร.ศ.) เป็นชื่อปีไปจนถึงปี ร.ศ. 131 จากนั้นจึงได้เปลี่ยนมาใช้ปีพุทธศักราชอย่างเป็นทางการ

ต่อมาในสมัยจอมพล ป. พิบูลสงคราม ได้มีการปรับเปลี่ยนปฏิทินโดยกำหนดให้วันที่ 1 มกราคมเป็นวันขึ้นปีใหม่และเป็นวันเริ่มต้นปีแทนแบบเดิมคือเดือนเมษายน และได้เริ่มใช้วันขึ้นปีใหม่นี้ในปี พ.ศ. 2484 โดยในวันที่ 14 มกราคม พ.ศ. 2385 ประเทศไทยได้มีการพิมพ์ปฏิทินขึ้นเป็นครั้งแรก และได้มีการพิมพ์ปฏิทินภาษาไทยในสมัยรัชกาลที่ 4 และในสมัยรัชกาลที่ 5 ปฏิทินที่พิมพ์ในไทยคือ “ประนินทิน” ซึ่งปัจจุบันยังหาปฏิทินนี้ไม่พบ”

และนี่คือประวัติหรือต้นกำเนิดของปฏิทินที่เรานำมาฝากกันในบทความนี้นั่นเอง และข้อมูลต่อจากนี้จะเป็นข้อมูลเกี่ยวกับวันหยุดในปีหน้า หรือปี 2565 นั่นเอง

  • 1 มกราคม 2565 วันขึ้นปีใหม่
  • 3 มกราคม 2565 วันหยุดชดเชยวันขึ้นปีใหม่
  • 16 กุมภาพันธ์ 2565 วันมาฆบูชา
  • 6 เมษายน วันพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช และวันที่ระลึกมหาจักรีบรมราชวงศ์ (วันจักรี)
  • 13-15 เมษายน 2565 วันสงกรานต์
  • 4 พฤษภาคม 2565 วันฉัตรมงคล
  • 15 พฤษภาคม 2565 วันวิสาขบูชา
  • 16 พฤษภาคม 2565 วันหยุดชดเชยวันวิสาขบูชา
  • 3 มิถุนายน 2565 วันเฉลิมพระชนมพรรษาสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินี
  • 13 กรกฎาคม 2565 วันอาสาฬหบูชา
  • 15 กรกฎาคม 2565 วันหยุดราชการกรณีพิเศษประจำปี 2565 ทำให้มีวันหยุดยาวติดต่อกัน 5 วัน (13-17 กรกฎาคม)
  • 14 กรกฎาคม 2565 วันเข้าพรรษา
  • 28 กรกฎาคม 2565 วันเฉลิมพระชนมพรรษาพระบาทสมเด็จพระปรเมนทรรามาธิบดีศรีสินทรมหาวชิราลงกรณ พระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัว
  • 29 กรกฎาคม 2565 วันหยุดราชการกรณีพิเศษประจำปี 2565 ทำให้มีวันหยุดยาวติดต่อกัน 4 วัน (28-31 กรกฎาคม)
  • 12 สิงหาคม 2565 วันเฉลิมพระชนมพรรษาสมเด็จพระบรมราชชนนีพันปีหลวงและวันแม่แห่งชาติ
  • 13 ตุลาคม 2565 วันคล้ายวันสวรรคตของพระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร
  • 14 ตุลาคม 2565 วันหยุดราชการกรณีพิเศษประจำปี 2565 ทำให้มีวันหยุดยาวติดต่อกัน 4 วัน (13-16 ตุลาคม)
  • 23 ตุลาคม 2565 วันปิยมหาราช
  • 24 ตุลาคม 2565 วันหยุดชดเชยวันปิยมหาราช
  • 5 ธันวาคม 2565 วันคล้ายวันพระบรมราชสมภพของพระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร วันชาติ และวันพ่อแห่งชาติ
  • 10 ธันวาคม 2565 วันรัฐธรรมนูญ
  • 12 ธันวาคม 2565 วันหยุดชดเชยวันรัฐธรรมนูญ
  • 30 ธันวาคม 2565 วันหยุดราชการกรณีพิเศษประจำปี 2565 ทำให้มีวันหยุดติดต่อกัน 4 วัน (30-31 ธันวาคม และ 1-2 มกราคม 2566)
  • 31 ธันวาคม 2565 วันสิ้นปี